วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

อังตวน แวน เลเวนฮุค : Anton Van Leeuwenhoek

ผลงาน    - ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์
             - ค้นพบจุลินทรีย์

       ในวงการวิทยาศาสตร์ชื่อของเลเวนฮุน จะไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่ถ้าหากพูดถึง กล้องจุลทรรศ์เขาได้ใช้กล้องที่เขาประดิษฐ์มาสังเกตดูสิ่งต่างๆ รอบตัว สัตว์บางประเภทที่เขาศึกษาไม่สามารถมองออกได้ด้วยตาเปล่า หรือเรียกสัตว์เหล่านั้นว่า จุลินทรีย์ 
      เลเวนฮุน เกิดวันที่ 24 ตุลาคม ค.ศ. 1632 ที่เมือเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง บิดาของเขามีอาชีพต้มกลั่นและสานตะกร้า ซึ่งได้เสียชีวิตไป หลังจากที่เขาเกิดเพียงไม่กี่ปี จึงทำให้ครอบครัวของเขาเกิดความยากจนและลำบาก แม่ของเขาจึงต้องทำหน้าที่หารายได้เลี้ยงครอบครัวเพียงลำพังเขา เลยทำให้เลเวนฮุนไม่ได้รับการศึกษาที่สูงนัก  แต่เขามีโอกาสได้ศึกษาจนถึงอายุ 16 ปี เขาได้ลาออกจากโรงเรียน และออกเดินทางไปเมืองอัมสเตอร์ดัม เพื่อหางานทำ เลเวนฮุนได้ทำงานในตพแหน่งเสมียน และทำบัญชีสินค้า  เขาทำงานอยู่ 5 ปี จีงลาออกเพื่อ เดินทางกลับบ้านที่เมืองเดลฟท์ เพื่อกลับมาเปืดร้านเสื้อผ้าและของใช้ต่างๆ
     แม้ว่าเขาจะมีความรู้น้อย แต่ด้วยความที่ เลเวนฮุนเป็นคนช่างสังเกต และอีกทั้งยั้งมีความตระหนี่ เมื่อแว่นขยายที่ใช้ส่องดูเนื้อผ้าภายในร้านหล่น จนเกิดรอยร้าว เขาก็ไม่ยอมที่จะซื้อใหม่ แต่กลับพยายามฝนเลนส์ให้สามารถใช้ได้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเลนส์ที่ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าที่วางขายทั่วไป จึงทำให้การฝนเลนส์เป็นงานอดิเรกของเลเวนฮุน จากนั้นเขานำเลนส์มาประดิษฐ์เป็นกล้องจุลทรรศ์ โดยใช้หลักการเดียวกับกาลิเลโอที่ประดิษฐ์กล่องโทรทรรศน์ แต่แทนที่จะมองเห็นสิ่งที่อยู่ไกล เขากลับให้มองสิ่งใกล้ๆ และเพิ่มขยายให้ใหญ่ขึ้น 

กล้องไมโครสโคป ชิ้นแรกในโลก

     โดยกล้องจุลทรรศ์ของเลเวนฮุน ประกอบด้วยเลนส์นูน 2 อัน ซ้อนกับและประกบติดไว้กับโลหะอีก 2 ชิ้น ส่วนด้านบนเป็นช่องมองและมีด้ามสำหรับถือ แถมยังมีสกรูสำหรับปรับความคมชัดของภาพ และมีกำลังขยายมาถึง 300 เท่า หลังจากที่เลเวนฮุนประดิษฐ์กล่องจุลทรรศ์สำเร็จ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ศึกษาธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัว เช่น พืช แมลง ขนสัตว์ และสิ่งต่างๆ แม้แต่ในน้ำส้มสายชู หรือในน้ำซุป วันหนึ่ง เลเวนฮุน ใช้กล้องส่องน้ำที่ขังอยู่ในแอ่งน้ำ เขาสามารถมองเห็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็กๆ จำนวนมากมายที่ไม่สามารถมองเห็ยได้ด้วยตาเปล่า เขาเรียกสัตว์พวกนี้ว่า Wretahed Beasties
     เลเวนฮุน มักใช้กล้องส่องตามแหล่งน้ำต่างๆ ซึ่งทำให้พบว่ามีสัตว์เหล่านี้จำนวนมากมายมหาศาล และยังเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กที่สุด เลเวนฮุนยังหาจุลินทรีย์ด้วยกล้องของเขาต่อไป ซึ่งเขาสามารถพบจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ กว่า 100 ชนิด ซึ่งบางประเภทมีขนาดเล็กมากกว่าเม็ดทรายถึง 1,000 เท่า ผลงานการค้นพบของเลเวนฮุนยังไม่ได้รับการเผยแพร่ออกไป จนกระทั้งได้พบกับ ดอกเตอร์ เรคนิเออร์ เดอ กราฟ นักชีววิทยาชาวดัทซ์ บอกให้เขาลองส่งผลงานไปยังราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน

 ราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน

     ในปี ค.ศ. 1674 เลเวนฮุนได้ส่งจดหมายไปยังราชสมาคมฯ หลายฉบับ แต่ทางราชสมาคม ก็ยังไม่เชื่อข้อความในจดหมายเหล่านั้น แต่เมื่อเลเวนฮุนส่งจดหมายไปอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทางราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน ติดต่อขอยืมกล้องจุลทรรศ์ของเลเวนฮุน เนื่องจากกล้องจุลทรรศ์มีขนาดใหญ่เกินไป จึงไม่สะดวกแกการขนส่ง ทำให้ทางราชสมาคมฯสั่งให้โรเบิร์ต ฮุค สร้างกล้องจุลทรรศ์ เมื่อได้ส่องดูสิ่งต่างๆ ตามที่ เลเวนฮุคเขียนเล่ามาในจดหมาย พบว่าเป็นจริงตามจดหมายทุกอย่าง ทางราชสมาคมฯ จึงเชื่อถือ และยอมรับเลเวนฮุคเข้าเป็นสมาชิคของราชสมาคม ในปี 1680
           เลเวนฮุค เสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 1723 ด้วยโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบ หลังจากที่เขาเสียชีวิตลง ชาวเมืองเดลฟท์ได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้ ณ โบสถ์แห่งหนึ่ง เพื่อเป็นเกียรติแก่เขาที่สร้างคุณประโยชน์อย่างมหาศาล
    


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น